1. ปิดทีวี ทีวีถือว่าเป็นการสื่อสารทางเดียว ภาพที่เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ทำให้เด็กจดจ่อ คุณพ่อคุณแม่มักคิดว่าทีวีช่วยให้เด็กมีสมาธิดี จึงจัดให้ทีวีเป็นเหมือนพี่เลี้ยงเด็กอันดับหนึ่งโดยลืมไปว่าแท้จริงแล้วภาพที่เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ทำให้เด็กมีสมาธิสั้น เด็กเล็กๆ ต้องการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ปกครองและการพูดคุยกับคนที่รัก ทีวีเป็นสิ่งที่ทำให้ทักษะต่างๆ รวมถึงพัฒนาการทางการฟังและการพูดของเด็กช้าลง เพราะทีวีเป็นการสื่อสารทางเดียว
2. ตัดสิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการพูดออกไป ได้แก่ ขวดนม การให้ลูกกินนมและขวดนมคาอยู่ที่ปากตอนนอน ทำให้มีผลเสียต่อฟันและอาจให้ทำติดเชื้อที่หูได้
3. เล่นกับลูก พูดคุย เล่าเรื่องที่น่าสนใจให้ลูกฟัง ฟังเมื่อลูกพูด เล่นบทบาทสมมติ เล่นของเล่นกับลูก พยายามเพิ่มคำศัพท์ต่างๆ ให้ลูกขณะที่เล่น
4. เพิ่มพูนภาษาให้ลูก ไม่ต้องให้ลูกพูดตามที่เราพูด แต่ในขณะที่มองดูสิ่งต่างๆ รอบตัว ให้เราสร้างเป็นประโยค มีประธาน กิริยา และกรรม เด็กๆ จะเรียนรู้จากสถานการณ์นั้นและจำได้จนสามารถนำไปใช้ได้เมื่อต้องเผชิญในสถานการณ์นั้นๆ อีก
5. ขยายคำศัพท์ให้ลูก เมื่อลูกเริ่มพูด เพิ่มคำศัพท์ให้ลูกมากขึ้นโดยเพิ่มคำคุณศัพท์ หรือขยายความ เช่น เมื่อลูกพูดว่ารถ เราตอบลูกว่า ใช่รถคันใหญ่สีแดง วิ่งเร็วผ่านเราไปใช่มั้ยจ๊ะ?
6. หนังสือ หนังสือ และหนังสือ งานวิจัยยืนยันว่าการเริ่มอ่านหนังสือให้ลูกฟัง เมื่อลูกอายุยังน้อยจะช่วยให้ลูกมีพัฒนาการด้านการฟังและการอ่านได้ดีเมื่อเปรียบเทียบกับเด็กที่ไม่ได้อ่าน ไม่ใช่เพียงแค่เล่าเรื่อง แต่ตั้งคำถาม โต้ตอบกับลูก ผลัดกันเล่า ดูภาพและอธิบายประกอบให้น่าสนใจ
7. ร้องเพลงให้ลูกฟัง เพลงประกอบด้วยคำคล้องจอง จังหวะ และเสียงสูงและต่ำ เด็กๆ จะเรียนรู้ภาษา คำศัพท์ ความรู้สึกอารมณ์เพลง เป็นการเรียนรู้โดยการใช้คำประกอบกับท่าทาง การเคลื่อนไหวร่างกาย กล้ามเนื้อใหญ่ กล้ามเนื้อเล็ก และทำให้เด็กสนุกและเป็นการเรียนรู้ภาษาที่ดีทางหนึ่ง
8. เป็นตัวอย่างที่ดี อย่าพยายามแก้ไขหรือตำหนิลูก เมื่อลูกพูดผิดแต่ควรพูดคำที่ถูกต้องเป็นตัวอย่างให้ลูกแทน โดยพ่อแม่ต้องเข้าใจและเป็นกำลังใจไม่ล้อเลียนเมื่อลูกพูดติดขัด หรือติดอ่าง
9. สร้างจุดสนใจ เมื่อไปยังสถานที่ต่างๆกับลูก พูดและคุยถึงสิ่งต่างๆที่เรามองเห็น ชี้ชวนและพูดถึงสิ่งต่างๆ ให้ลูกเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งของที่เห็นกับคำศัพท์ต่างๆ ที่เรียนรู้
10. ใช้กิจกรรมประจำวัน หมายความว่าให้เราใช้กิจวัตรประจำวันที่ทำ เป็นโอกาสในการสอนภาษา เมื่อไปสั่งอาหารที่ร้านอาหาร ไปซื้อของที่ซูเปอร์มาร์เก็ต ขณะขับรถ หรือทำอาหารในครัว เมื่อเราเห็นอะไร ชี้ชวนและพูดคุยกับลูก เด็กๆจะเรียนรู้ภาษา คำศัพท์ในขณะที่ทำกิจกรรมนั้นๆ
การสอนและใช้เวลาใกล้ชิดกับลูกในช่วงวัยเล็กเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง การพูดคุยทำกิจกรรมด้วยกันถือเป็นประสบการณ์ที่จะฝังอยู่ในความทรงจำของเด็กๆตลอดชีวิตของเขา มาร่วมกันสร้างเด็กๆ ให้เป็นนักพูด นักสำรวจ และนักผจญภัยท่องโลกผ่านการอ่าน เพื่อพัฒนาภาษากันเถอะค่ะ
เพิ่มเติม
เลี้ยงลูกไปตามปกติ พอลูกเริ่มอ่านหนังสือได้ หาหนังสือนิทานเริ่มจากง่ายๆไปยาก พออ่านจบเรื่องหาเวลาเหมาะๆในบรรยากาศผ่อนคลาย ให้ลูกเล่าเรื่องที่แกอ่านให้ฟัง เป็นการฝึกทักษะการจับประเด็น แล้วนำเสนอด้วยวาจา......แค่นี้ภาษาเด็กก็จะดี และพัฒนาการคิดด้วยครับ.......มีงานวิจัยยืนยันมากมาย
อ้างอิง
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000090025
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น